เส้นทางสู่ข้าราชการผ่านการสอบ กพ.
การสอบ กพ. หรือ การสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นข้าราชการพลเรือน โดยแบ่งการวอบออกเป็น 3 พาร์ท คือ ภาค ก., ภาค ข. และภาค ค. การสอบที่กำลังรับสมัครอยู่นี้เป็นการสอบในภาค ก. ที่เป็นส่วนของการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ในรูปแบบ E-Exam หรือการสอบอิเล็กทรอนิกส์ มีกำหนดการ ดังนี้

การสอบ กพ. แบบออนไลน์
- ต้นเดือนมกราคม 2564 – ประกาศการสอบ กพ. ภาค ก. และชี้แจงกำหนดการต่าง ๆ
- 8 มกราคม 2564 – เริ่มต้นกรอกใบสมัคร โดยการรับสมัครจะดำเนินไปจนกว่าที่นั่งจะเต็มจำนวน 40,998 ที่นั่ง
- 28 มกราคม 2564 – วันสุดท้ายของการรับสมัคร แต่มักจะเต็มก่อน ควรสมัครแต่เนิ่น ๆ
*การชำระเงินค่าสมัครสอบ ต้องชำระภายในเวลา 22.00 น. ถัดจากวันที่กรอกใบสมัคร มิเช่นนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์
- 10 กุมภาพันธ์ 2564 – ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวผู้สอบ
- 30 กุมภาพันธ์ 2564 – อัปโหลดรูปถ่ายลงในใบสมัครสอบออนไลน์
- 3 เมษายน 2564 – วันแรกของการสอบ กพ. ของผู้สอบระดับปริญญาโท
- 4 เมษายน 2564 – วันแรกของการสอบ กพ. ของผู้สอบระดับปริญญาโท โดยจะมีอีก 4 รอบ ในวันที่ 4, 5, 6, 7 และ 8 เมษายน 2564
*จำกัดการสอบ 6,833 ที่นั่งต่อรอบการสอบ
- 28 พฤษภาคม 2564 – ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน
- 8 มิถุนายน 2564 – พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน
หลังการสอบผ่านในรอบแรกแล้วจะเป็นการสอบในรอบ ข. ซึ่งผู้สมัครจะเลือกสอบตามหน่วยงานที่ตนเองสนใจ และต้องรอจนกว่าหน่วยงานนั้นจะมีการเปิดรับสมัคร และบางหน่วยงานเมื่อผ่านภาค ข. แล้วก็จะมีการสอบภาค ค. ต่อ ผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการรับราชการจึงควรติดตามข่าวสารขององค์กรต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการรับราชการ
นอกจากการสอบ กพ. แล้วยังมีการเปิดรับสมัครโดยตรงจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากใครพลาดในการสมัคร กพ. ก็อาจจะติดตามข่าวสารโดยตรงจากหน่วยงานได้เช่นกัน แต่หากมีโอกาสก็ควรเก็บคะแนน กพ. เอาไว้ เพราะอาจจะได้ใช้ในอนาคต
ที่มา เว็บไซส์ กพ.